หลักการคิด, Topic และ Headline ให้มีประสิทธิภาพ
สร้างคอนเทนต์ให้ปัง ทันกระแสสังคม - คุณไกรวิน วัฒนะรัตน์ CEO & Co-founder, AHEAD ASIA
งานเขียนที่ดีต้องมี 3 หลักการ เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์งานเขียนที่ดีขึ้นได้คือ
💥 Mindset / Toolset / Skillset 💥
---------------------------------------------------------------------------------------
"Mindset" ที่ถูกต้องในงานเขียนคืออะไร
เราต้องรู้จักประโยชน์ของการเขียน 8 ข้อก่อน มีดังนี้
1. สื่อสารชัดขึ้น :
หัดจดในสมุดหรือพิมพ์ใน Notepad ใส่เป็นข้อ ๆ ก็ได้ จะทำให้สามารถเขียนเรื่องราวได้ดีขึ้น
2. สร้างไอเดียใหม่ ๆ :
เมื่อเราลงมือเขียนไปแล้ว จะได้ไอเดียใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น จะวาดรูปก็ได้ไอเดียเช่นกัน
3. เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น :
ประสบการณ์การเขียนหลาย ๆ งานของเราจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น
4. ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น :
การเขียน List เป็นข้อ ๆ แบ่งข้อดีข้อเสีย จะทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้น
5. ฝึกสมาธิ :
เหมาะกับคนไม่อยู่นิ่ง ถ้าเขียนงานแล้วจะทำให้มีสมาธิ คิดเรื่องราวที่จะเขียนง่ายขึ้น
6. ลดความเครียด เติมความสุข :
การเขียนระบายต่าง ๆ บน Social Media จะทำให้ลดความเครียดออกไป
7. บริหารออกกำลังสมอง :
การเขียนจะช่วยให้มีคลังคำสั่งและประสบการณ์ความคิดมากขึ้น
8. สร้างรายได้ สร้างอาชีพ :
งานบล็อคเกอร์ การสร้างเพจหรืองานเขียน TrueID Creator จะสร้างรายได้กับนักเขียน
เมื่อเข้าใจประโยชน์งานเขียนแล้ว จะสามารถสร้าง Mindset ต่องานเขียนของเราได้....
---------------------------------------------------------------------------------------
"การเขียนไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นความกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาด
รู้จักพัฒนาให้เป็นนิสัย"
---------------------------------------------------------------------------------------
"Toolset" เครื่องมือในงานเขียนคืออะไร
เข็มทิศการเขียน เข็มทิศจะเป็นแค่ Guideline ให้เราคร่าว
เราก็จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง
💢 เข็มทิศการเขียน : 10 ข้อ
1. ตั้งเป้า ตั้งเรื่อง : Real Time Content :
คอนเทนต์ในกระแส ช่วงนั้นมีกระแสอะไรบ้างจับมาจับคู่กัน เพื่อให้ได้คอนเทนต์ที่แตกต่างจากคอนเทนต์ทั่วไป
2. มองมุมคนอ่าน :
ต้องรู้จัก 3E ของผู้อ่านเป็นหลัก คือ Entertain สร้างความบันเทิง / Educate ให้ความรู้ / Empowerment สร้างกำลังใจ
“ถ้าเราต้องการเข้าใจผู้อ่านต้องการอะไร ? ลองโพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว
เพื่อโพลข้อมูลสิ่งที่ผู้อ่านต้องการ”
3. ค้นคว้า ค้นหา :
ข้อมูล สถิติ / เรื่องราว / คำพูดคำคม / ประสบการณ์ของผู้เขียน แล้วนำมารังสรรค์งานเขียนเรา
4. เรียบเรียง :
หาข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาแล้วเรียบเรียงใหม่
5. เขียนก่อน (แม้จะห่วย) :
ถ้าเราสามารถเขียนย่อหน้าแรกผ่านได้ ย่อหน้าอื่น ๆ จะลื่นไหลในการเขียนทันที
6. หยุดเขียน : ให้เวลาเยียวยาทุกสิ่ง พักสมองแล้วค่อยเดินหน้าคิดงานเขียนต่อ
7. เขียนใหม่ : อ่านแล้วรู้สึกยังไง มีคำถามอะไรอีกไหม แต่อย่าเยอะจนเกินไป
8. Headline ให้โดน :
คนเราอ่าน Headline ตัดสินใจก่อนที่จะมาอ่านเนื้อหาภายใน ต้องสั้น ต้องเร้าใจและรู้เรื่อง
“หัวข้อการตั้งบทความ ทำยังไงให้เค้าหยุดการเลื่อนฟีดและหยุดอ่าน Headline เรา”
8.1 ใช้ตัวเลขเป็นหลัก : เช่น 3 ที่เที่ยว เน้นย้ำอย่าใช้คำว่า “อย่าง หรือสิ่ง”
8.2 ใช้คำสื่อเร้าอารมณ์ : เช่น หน้าใสไร้สิวด้วย 10 ครีมบำรุงผิวหน้า
8.3 How to How not to : การสื่อให้ผู้อ่านเกิดความน่าสนใจ อยากจะทดลองหรือทำตาม
8.4 ถามคำถาม :
ตั้งคำถามกับผู้อ่าน ให้เขารู้สึกอยากกดเข้ามาอ่านเพื่อหาคำถามจากคำถามบน Headline
8.5 คำสัญญา
8.6 ถอดบทเรียนหรือข้อคิด
8.9 Edit แก้ไข : เอาออกให้เยอะที่สุด คำเชื่อมที่ไม่จำเป็น เช่น ซี่ง ที่ โดย และเน้นการใส่อีโมจิ
8.10 เผยแพร่ : ลองทดลองจากเฟซบุ๊คส่วนตัว แล้วดูสถิติจากการโพสต์
---------------------------------------------------------------------------------------
Skillset ทักษะในการเขียนต้องลงมือทำ ฝึกฝน
ผ่านจาก Mindset / Toolset แล้วจะสามารถสร้าง Skillset เองได้
---------------------------------------------------------------------------------------